Calcium Scoring

การตรวจและวัดปริมาณหินปูน
ในหลอดเลือดหัวใจ…ช่วยได้อย่างไร ?

     โดยปกติแล้วแคลเซียมที่จับที่ผนังหลอดเลือดหัวใจไม่ได้ เกิดเพราะอายุมาก หรือหลอดเลือดที่เสื่อม แต่เกิดมีโรคหลอดเลือดแดง (Artheriosclerosis) ซึ่งเกิดจากไขมัน
ความหนาแน่นต่ำ LDL จับที่ผนังหลอดเลือด ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีทำให้
เกิดแผ่นคราบไขมัน (Plaque) ทำให้เกิดเส้นเลือดตีบและอุดตัน ซึ่งแคลเซียมจะจับอยู่ที่ Plaque นี้

    ดังนั้น ถ้าไม่มี Plaque เราก็จะไม่พบแคลเซียม ถ้าแคลเซียม ยิ่งมากก็แสดงว่ามี Plaque มาก เราจึงสามารถใช้ปริมาณแคลเซียม ในการคาดคะเนโอกาสการเกิดของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้

ตรวจแล้วได้อะไร ?

    เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะยาวได้ และช่วยให้แพทย์ประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคตได้อย่างแม่นยำและช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจในอนาคตลง การตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจเป็นการตรวจปริมาณ แคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงโดยเฉพาะ CT 160 Slice ซึ่งใช้เวลา ตรวจน้อยและให้ความแม่นยำสูง

เครื่องมือตรวจหาปัจจัยเสี่ยง
รู้โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจล่วงหน้า

การเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ที่สาเหตุมาจากหลอดเลือดหัวใจมีการอุดตันของการสะสมไขมันในเส้นเลือดหินปูน หรือ มีลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุดเครื่องมือที่สามารถตรวจคัดกรองปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ได้แก่ Calcium Score Report and CTA Coronary Artey ซึ่งย่อมาจาก Coronary Computed Tomographic Angiography

Calcium Score Report

    Calcium score report เป็นการตรวจคัดกรองระดับไขมันและหินปูนเกาะที่หลอดเลือด
โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ความเร็วสูงในการตรวจเพื่อดูทางเดินของหลอดเลือดหัวใจว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการอุดตันหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีการตรวจที่ง่ายและรวดเร็ว ไม่ต้องมีการเตรียมตัวผู้ป่วยให้ยุ่งยากเพียงแค่ผู้ตรวจกลั้นหายใจไม่ถึง 10 วินาที และงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดสูบ บุหรี่เป็นเวลา 4 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ สำหรับผู้ป่วยมีอัตราการเต้นหัวใจเกิน 90 ครั้งต่อนาที จำเป็นต้องได้รับยาเพื่อให้หัวใจ เต้นเป็นปกติก่อนตรวจผู้ที่เหมาะจะทำการตรวจด้วยวิธี Calcium score report นั้น นอกจากผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก หน้ามืด หรือบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ เช่น อ้วน เหนื่อยง่าย เครียดและคนที่ครอบครัวมีปะวัติเป็นโรคหัวใจก็สามารถเข้ารับการตรวจได้ในทางการแพทย์ ถือว่าเป็นการรักษาเชิงป้องกัน และตรวจจับโรคิได้ก่อนโรคแสดงอาการ โดยการตรวจสุขภาพสำหรับชายอายุเกิน
45 ปี หญิงอายุเกิน 55 ปี หรือวัยหมดประจำเดือน
    กรณีค่า Calcium score เกิน 400 รังสีแพทย์และแพทย์โรคหัวใจจะพิจารราว่าควรทำการตรวจ เพื่อหารอยโรคอื่นที่แพทย์สงสัยเพิ่มเติมหรือไม่ การทำ Calcium scroe report และ CTA coronary Artery จึงเป็นวิทยาการทางการแพทย์เชิงป้องกันจะช่วยค้นหาโรคและสามารถแก้ปัญหาโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ได้ดี ร่วมกับการรักษา Regenerative Medicine 

CTA Coronary Artery
(Coronary Computed Tomographic Angiography)

การฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องเอกสเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เป็นการตรวจเพื่อค้นหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยสามารถบอกระดับความรุนแรงของการตีบ
ของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้อมเนื้อหัวใจได้ หรือใช้ติดตามผลการรักษา ในรายที่เคยมีประวัติผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจมาก่อน รวมถึงการหาความผิดปกติแต่กำเนิดของหลอดเลือดหัว โดยในปัจจุบันเป็นการตรวจคัดกรองในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง การเตรียมผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจก่อนทำการผ่าตัด หรือทำหัตถการใหญ่

ข้อจำกัดในการตรวจ

    ผู้ป่วยต้องได้รับการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจไม่เกิน 65 ครั้งต่อนาทีซึ่งต้องให้อยู่ในความดูแลของอายุรแพทย์โรคหัวใจ กรณีที่อัตราการเต้นของหัวใจเกิน 65 ครั้งต่อนาที อาจจำเป็นต้องได้รับยาก่อนทำการตรวจงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง ก่อนตรวจเพื่อ
ความปลอดภัยของผู้ป่วย ในกรณีเกิดการแพ้สารทึบรังสีและต้องมีผลค่าการทำงานของไตทุกครั้ง เนื่องจากสารทึบรังสีที่ใช้จะถูกขับออกทางปัสสาวะ ผู้ป่วยต้องสามารถกลั้นหายใจขณะทำการสแกนประมาณ 10 วินาที