กระดูกพรุน

กระดูกพรุน

กระดูกพรุน ภัยเงียบของผู้สูงอายุ

 โรคกระดูกพรุน นับวันจะเพิ่มมากขึ้นจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น นับเป็น “ภัยเงียบ” อย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน เพราะไม่พบว่ามีอาการใดๆ จนกระทั่งล้มแล้วมี “กระดูกหัก” จึงรู้ว่าเป็น “โรคกระดูกพรุน”

 หากกระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุน อาจส่งผลร้ายตามมา คือ
– 20% มักเสียชีวิตภายใน 1 ปี
– 30% พิการถาวร
– 40% ต้องใช้เครื่องช่วยพยุงในการเดิน
– 80% ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนก่อนกระดูกหัก

 กระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน มีอันตรายสูงมาก ดังนั้นควรป้องกัน และรักษาภาวะกระดูกพรุนทันทีเมื่อทราบ 

ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจ?

✔ผู้ที่มีอายุ 45 ปี ขึ้นไป

✔ผู้ที่รับประทานยาหรือฉีดยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน

✔ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวกระดูกข้อสะโพกหัก

✔ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และผอมกว่าปกติ

ตรวจวัดมวลกระดูก (Bone Density)
เพื่อค้นหาความเสื่อมของภาวะกระดูกพรุน กระดูกบาง และกระดูกเสื่อม